Three Tier Smooth Bore
Crown(adjustable fall) Pirouette (spins slowly, 1" shown )
Cascade (Level dependent) Cluster (shown w/fans)
Fan Vertical Fan
Dome / Bell Finger Nozzle
4. ระบบติดตั้งและควบคุมน้ำพุดนตรี
4.1 การติดตั้งหัวน้ำพุและหลอดไฟสี
แนวความคิดในการติดตั้งหัวน้ำพุและหลอดไฟสีควรติดตั้งหลอดไฟสี สีละหนึ่ง
หัวน้ำพุรูปแบบต่างๆตามต้องการ
หลอดไฟสีติดตั้งระหว่างหัวน้ำพุ
บั๊มสูบน้ำหลอดบริเวณช่วงว่างระหว่างหัวน้ำพุสองหัว หลอดไฟจะสามารถส่องแสงได้ถึงสองหัวน้ำพุเมื่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์แล้วทั้งหมดจะทำงานพร้อมกันและควรติดตั้งบั๊มระหว่างช่องว่างหลอดไฟสี เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพื่อว่า เมื่อสูบน้ำเข้าหัวน้ำพุน้ำจะวิ่งไปตามลำดับจากซ้าย-ขวา, หน้า-หลังเป็นต้น วิธีนี้จะช่วยได้ดีมากในการแสดงทั้งนี้แล้วยังช่วยลดการพุ่งของน้ำที่มากเกินไปให้พอดีกับแสงที่ส่องออกมาจากหลอดไฟแต่ละหลอดด้วย ทั้งนี้ยังได้ยกตัวอย่างภาพประกอบเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
4.2 คอมพิวเตอร์กับการควบคุมงานน้ำพุดนตรี
การควบคุมนอกจากจะมีโปรแกรมการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีเครื่อง
อื่นๆที่ใช้ในการควบคุมองค์ประกอบต่างๆในการสร้างน้ำพุดนตรี โดยมีเครื่องมือดังนี้
Float switch ตัวหยุดบั๊มเมื่ออยู่ในระดับต่ำ, Wind controls ตัวกำหนดความสูงของน้ำพุ,Light sensor ตัวกำหนดการเปิดแสงไฟ, P.I.R. ตัวปล่อยน้ำพุ, Time switches สวิตซ์ตั้งเวลา, DMX ตัวควบคุมใหญ่, EFC series ตัวทำให้น้ำพุมีการเคลื่อนไหว, Access software โปรมแกรมควบคุมน้ำพุด้วยคอมพิวเตอร์, Domestic DMX kit, Electronic water level หยุดน้ำพุเมื่อน้ำแห้ง
ACCESS is a 4th เป็นโปรมแกรมวิวโดวส์พื้นฐานที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ควบคุมน้ำพุ
ดนตรีโดยเฉพาะซอฟแวร์ตัวนี้สามารถควบคุมได้ง่าย ด้วยอุปกรณ์สวิตซ์ปิด-เปิด/ Dimmers และบั๊ม 1/2เพียงไม่กี่ตัว ใช้ควบคู่ไปกับตารางเวลาที่มีการอัดไว้ล่วงหน้าในแต่ละวัน มีการส่งผ่านข้อมูลทั้งไปที่หน่วยควบคุมอิเลคโทรนิคผ่านคอมพิวเตอร์ไปยังหัวน้ำพุร้อยกว่าหัวจากที่ต่างๆ
ACCESS ถูกพัฒนาขึ้นมามากว่ายี่สิบปี ด้วยประสบการณ์การทำน้ำพุ, ระบบควบคุม,
การติดตั้งอุปกรณ์และฝึกใช้คอมพิวเตอร์ขอบเขตความเชื่อมั่นในการทำงานให้ทั้งพลัง, ความเร็วและเข้ากันได้ สะดวกในการใช้งานและการบำรุงในการเปิดกลไกน้ำพุ ทั้งนี้ซอฟแวร์ได้จัดเตรียมคูมือการควบคุมแบบอัตโนมัตสวิตช์หรือการควบคุมส่วนต่างๆการปรับปรุงทั้งระบบไฟและเครื่องควบคุมการไหลของน้ำพร้อมทั้งคำแนะนำในการทำน้ำพุ
4.3 ขั้นตอนการทำน้ำพุดนตรี
ขั้นตอนในการทำน้ำพุดนตรีมีอยู่ด้วยกับ 3 ขั้นตอนหลักๆที่สำคัญดังนี้
ขั้นตอนที่1 การออกแบบและการวางแผน ก่อนจะสร้างงาน จำเป็นต้องทำการสำรวจพื้นที่ เสียก่อนเพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญในการนำเป็นใช้เป็นฐานแนวความคิดในการออกโดยเฉพาะด้านมุมมองถือว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบ เพื่อให้สามารถมองเห็นน้ำพุได้ทุกสัดส่วน และทุกพื้นที่การมองเห็น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับการออกแบบคือแนวคิดของเจ้าของงานที่จะสามารถออกแบบน้ำพุดนตรีให้สอดคล้องต่อความต้องการ
การออกแบบนี้นอกจากจะออกแบบรูปแบบ ลีลาของน้ำพุแล้วยังรวมไปถึงการออกแบบงานก่อสร้างการวางระบบลงในสระน้ำหรือการสร้างสระน้ำขึ้นมาใหม่ การวางระบบทั้งระบบท่อน้ำ, หัวน้ำพุ, ระบบแสงไฟ, ระบบเสียง, และการกำหนดวางอุปกรณ์ในการควบคุม โดยการนำเสนอแบบให้ลูกค้าอาจทำได้ทั้งการเขียนด้วยมือหรือทำเป็น 3D ให้เห็นภาพรวมทั้งหมดก็ได้
ขั้นตอนที่ 2 การวางระบบทั้งหมดลงใน site เป็นการติดตั้งระบบทั้งหมดลงในสระน้ำ ได้แก่ระบบท่อน้ำ-ปั๊ม, ระบบหัวน้ำพุ(ติดตั้งตามแบบที่กำหนด), ระบบแสงไฟ, ระบบเสียง(ลำโพงรอบๆสระ), ระบบควบคุม, และอุปกรณ์สำหรับต่อเข้าระบบควบคุม การควบคุมนั้นควรติดตั้งให้อยู่ใกล้ๆบริเวณขอบสระน้ำเพื่อการส่งสัญญาณในการควบคุมระบบต่างๆทั้งหมด
ขั้นตอนที่3 ระบบควบคุม เมื่อทำการติดตั้งระบบทั้งหมดเรียบร้อยแล้วต่อไปจะเป็นส่วนของงานควบคุมที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์พร้อมเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมาย
เพื่อกำหนดเปิด-ปิด ให้น้ำพุเกิดการเคลื่อนไหวไปตามเสียงเพลงที่ตั้งไว้และมีลีลาที่สวยงามตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้แต่แรก โดยการควบคุมนี้อาจมีการสร้างห้องสำหรับการควบคุมโดยเฉพาะ บริเวณใกล้ๆกับสระน้ำเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการควบคุม
5. ตัวอย่างน้ำพุดนตรีที่มีในปัจจุบัน
5.1 นี่คือน้ำพุดนตรีที่ Mount Vernon New York จากรูปสามารถเห็นการติดตั้งทั้งระบบไฟ ปั๊มน้ำ และหัวน้ำพุ โดยหัวหนึ่งพุอันหนึ่งจะมีปั๊มหนึ่งอัน ยกเว้นตรงที่เป็นท่อวงแหวนจะมีปั๊มเล็กๆหลายตัว โดยปั๊มเล็กๆเหล่านี้จะสูบน้ำได้เร็วและสามารถส่งผ่านน้ำมายังหัวน้ำพุได้แรงและเร็ว
5.2 นี่คือน้ำพุดนตรี Donahue Memorial - Shrewsbury MA
- มีหัวน้ำพุทั้งหมด 11 ตัว อยู่ บนทุ้นตัวเดียวกับ
- ไฟ 15, 360 วัตต์ สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเหลืองอำพัน
- สเตอริโอ 480 วัตต์ รอบๆสระน้ำ 8 ตัว
- การแสดงแสง, สี, เสียง นาน42นาทีต่อหนึ่งรอบ
สรุป
จากการนำเสนอที่ผ่านมานั้น น้ำพุดนตรีประกอบไปด้วย สระน้ำ/บ่อ, ปั๊ม, หัวน้ำพุ, ระบบไฟ, ระบบเสียง, และระบบควบคุม เป็นองค์ประกอบหลักที่จะขาดไม่ได้ในการทำน้ำพุดนตรี น้ำพุดนตรีจะมีความคล้ายกันกับน้ำพุทั่วๆไป แต่จะต่างกันที่ เทคนิคการนำเสนอน้ำพุให้มีความแปลกใหม่ไปจากเดิมมีการใช้ระบบไฟ แสง, สี, และเสียงเข้ามาใช้ในการแสดงตามงานต่างๆ ระบบควบคุมเป็นหัวใจหลักที่ทำให้น้ำพุดนตรีเคลื่อนไหวได้ตามที่ใจปรารถนาโดยผ่านการควบคุมจากคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม ACCESS is a 4th ที่สร้างสรรค์มาเพื่อใช้ในงานควบคุมน้ำพุดนตรีโดยตรง
ข้อเสนอแนะ
งานน้ำพุดนตรีส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ใช้เนื้อที่/ สระน้ำขนาดใหญ่ในการสร้าง ระบบการออกแบบ ผังหัวน้ำพุจึงมีขนาดใหญ่ เมื่อมีขนาดใหญ่ค่าใช้จ่ายในการสร้างก็มีมูลค่ามากขึ้นตามไปด้วย แต่จริงๆแล้วจากการที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้นแล้วนั้น งานออกแบบน้ำพุดนตรีสามารถออกแบบได้ตั้งแต่งายขนาดเล็กเพียง 4 เมตร จนถึงงานขนาดใหญ่มากกว่า 100 เมตร และสามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ดังนั้นงบประมาณสำหรับการติดตั้งน้ำพุ จึงขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของหัวน้ำพุมากกว่า มีตั้งแต่ราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักเป็นสิบๆล้าน ในปัจจุบันเนื่องจากความหลากหลายในงานน้ำพุดนตรีจึงไม่ใช้เรื่องยากมากนักสำหรับผู้ที่หลงใหลในน้ำพุดนตรีแต่มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณที่จะติดตั้งน้ำพุดนตรีไว้ที่บ้าน
การพัฒนาเพื่อให้น้ำพุดนตรีมีต้นทุนต่ำลง
เพื่อให้มีราคาที่ถูกลงในงานสร้างน้ำพุดนตรี อาจพิจารณาจากวัสดุชนิดของหัวน้ำพุ, ไฟส่องใต้น้ำ, ที่มีการผลิตมาจากประเทศแถบเอเชียซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่าสั่งซื้อมาจากประเทศแถบยุโรป ส่วนปั๊มน้ำเลือกใช้ตามขนาดของหัวน้ำพุหรือตามความต้องการความแรงของน้ำที่พุ่งออกมาในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบและมีราคาที่ไม่แพงมากนัก ระบบควบคุมเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญในการวางระบบแล้ว ยังทำให้น้ำพุดนตรีมีมูลค่าในการสร้างที่สูงด้วย เนื่องจากมีระบบที่ซับซ้อน ทั้งไฟส่องสว่างและระบบเสียง ที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์พร้อมเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมาย การพัฒนาระบบควบคุมให้มีควบซับซ้อนน้อยลงเพื่อลดต้นทุนในการสร้างงานน้ำพุดนตรีเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่สามารถทำได้จริง หากลองศึกษาลึกเข้าไปถึงระบบการควบคุมแบบจริงๆจังๆแล้วบวกกับมีหัวทางการช่างอีกนิดหนึ่ง ก็อาจจะทำได้ด้วยการประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมแบบง่ายหรือด้วยการดัดแปลง ระบบกลไกล ความซับซ้อนของอุปกรณ์ต่างๆให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งหากทำได้จริงตามแนวคิดที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ก็จะทำให้งานน้ำพุดนตรีในอนาคตข้างหน้านี้เป็นที่ธุรกิจใหม่ที่สดใสและจะไปได้ไกลอย่างแน่นอน
สปริงเกอร์ไทดีร่วมลดภาวะโลกร้อน
เอื้อเฟื่อรูปโดยสปริงเกลอร์ไทยแลนด์
สนับสนุนบทความดีๆโดยไทยบางกอก
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้ภาษาคน อิอิ
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น