วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

น้ำพุดนตรี (Musical fountain)

น้ำพุดนตรี (Musical fountain)


1.ทำความเข้าใจกับน้ำพุดนตรี
หากจะว่ากันไปแล้วน้ำพุมีอยู่ 2 ประเภท คือ น้ำพุธรรมชาติ และน้ำพุประดิษฐ์ ส่วนที่เรากำลังจะพูดถึงอยู่นี้ก็คือ น้ำพุประดิษฐ์ สร้างขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์ มีองค์ประกอบสำคัญคือ ภาชนะ เช่น อ่าง หรือสระ เพื่อกักเก็บน้ำ ปั๊มน้ำ เพื่อดูดน้ำส่งผ่านหัวน้ำพุ

น้ำพุดนตรีเป็นการรวมเอาลักษณะท่าทางของการเคลื่อนที่ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพืชซึ่งได้แก่ต้นไม้ ดอกไม้ นานาชนิดหรือสัตว์ต่างๆ เช่น ผีเสื้อ นกกระเรียน หงส์ เป็นต้น ด้วยลีลาของเส้นน้ำทีมีขนาด และรูปร่างต่างๆ กัน โดยกำหนดให้ สายน้ำเหล่านั้น เคลื่อนที่ ล้อเลียนธรรมชาติ ด้วยวิธี ทำให้ เส้นน้ำ ขึ้นลงเป็นจังหวะ หมุนรอบตัวในแนวตั้งฉาก หรือ แนวนอน ส่ายไปมาตามกัน หรือสลับกัน โยกไปมา น้ำพุดนตรีดังกล่าวออกแบบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กเพียง 4 เมตร จนถึงขนาดใหญ่มากกว่า 100 เมตร ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

น้ำพุดนตรีในประเทศไทย (Musical fountain in Thailand) นับตั้งแต่น้ำพุดนตรียังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ในปี พศ. 2536ได้เริ่มต้นออกแบบและติดตั้งน้ำพุดนตรีเป็นแห่งแรก ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีขนาดกว้าง 70 เมตร ซึ่งถือได้ว่าใหญ่ที่สุดในประเทศในขณะนั้น ปัจจุบันมีผลงานการออกแบบจัดสร้างน้ำพุและสิ่งแสดงที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจัดแสดงทั้งแบบชั่วคราวและถาวรมาแล้วมากกว่า 60 แห่ง ซึ่งออกแบบ ติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบน้ำพุทุกประเภท ทั้งน้ำพุกลางแจ้งและน้ำพุในอาคาร ตั้งแต่ระบบขนาดเล็กจนถึงระบบขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมาก พร้อมไฟส่องสว่างและระบบเสียง ที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์พร้อมเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมาย

น้ำพุรูปแบบต่างๆ นอกจากจะสามารถติดตั้งในแบบถาวรแล้วยังสามารถ Designให้มีรูปแบบเหมาะสมกับงานแบบชั่วคราวได้ด้วย เช่น ในงานเลี้ยงรื่นเริง งานแต่งงาน งานวันเกิด งานแถลงข่าว งานออกร้าน งานประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายต่างๆ เป็นต้น สร้างความแปลกใหม่ด้วยเทคนิคพิเศษและดึงดูดความสนใจแก่ผู้ที่พบเห็นไปพร้อมๆ กัน

2. แนวคิดในการนำน้ำพุดนตรีมาประยุกต์ใช้กับงานภูมิทัศน์

งานทำน้ำพุดนตรีนั้นมีรูปลักษณ์และลวดลายหลากหลายแบบ สามารถผสมผสานหลายๆแบบเข้าด้วยกันเพื่อให้ดูสวยงามและมีระบบควบคุมที่สามารถทำขึ้นเองได้ง่ายในราคาที่ไม่แพงมากนักเมื่อต้นทุนถูกการทำน้ำพุดนตรีประกอบภูมิทัศน์จึงไม่ใช้เรื่องยาก หากเพียงแต่ต้องมีการนำมาปรุงแต่งเสริมนิดออกหน่อยเพื่อให้สอดคล้องกับงานภูมิทัศน์นั้น นอกจากจะทำให้เกิดความแปลกใหม่แล้วยังทำให้การพัฒนางานภูมิทัศน์มีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต

เมื่อความหลากหลายในงานภูมิทัศน์มีมากขึ้นน้ำพุดนตรีก็จะไม่ใช่แค่การนำน้ำพุมาตกแต่งประดับอาคาร สวนสาธารณะ สถานที่ต่างๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความสามารถในการนำน้ำพุดนตรีมาประยุกต์ใช้กับงานภูมิทัศน์จึงไม่ใช้เรื่องที่แปลกใหม่อีกต่อไปแต่จะเปลี่ยนเป็นการเพิ่มมูลค่าของงานให้มากขึ้น ทั้งในด้านของความงาม ทัศนียภาพ ความจรรโลงใจ ยังรวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบงาน ที่จะสามารถพัฒนางานให้ไปสู่ระดับนานาชาติได้ต่อไป

2.1 น้ำพุดนตรีงานภูมิทัศน์

น้ำพุดนตรีนอกจากจะสร้างความตื่นตาตื่นใจเมื่อพบเห็นแล้วยังส่งเสริมพื้นที่นั้นให้สวยงามขึ้น กลายเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบงานภูมิทัศน์ เพราะตัวน้ำพุที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาทำให้เกิดความรู้สึก มีชีวิตชีวา เพลิดเพลินใจ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อ อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าต่างๆได้อีก ยังจะสังเกตได้จาก การนำน้ำพุดนตรีมาใช้ในงานรื่นเริงกลางแจ้งต่างๆ งานราชพฤกษ์ 2549 ที่มีการนำน้ำพุดนตรีมาแสดงในทุกๆคืนตลอด3เดือนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้มาเยือนต้องอยู่ชมเสมอ หรือน้ำพุตามแนวคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ที่จะเปิดน้ำพุที่ ที่มีการจราจรแอดอัดเพื่อช่วยให้ผู้ที่สัญจรไปมาไม่หงุดหงิดจากการจารจรให้กับมารู้สึกผ่อนคลายได้ด้วยน้ำพุนั้นเอง

2.2 น้ำพุดนตรีงานสถาปัตยกรรม

น้ำพุนอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนโยง การเคลื่อนไหวความเป็นอิสระ ความไม่อยู่กับที่ได้แล้วนั้น ในทางกับกันน้ำพุยังทำให้เกิดความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ มั่นคง ความ มโหฬาร อลังการ จึงไม่แปลกนักที่จะพบเห็นการนำน้ำพุดนตรีมาประดับ สถาปัตยกรรม อาคารขนาดใหญ่ต่างๆ แต่การนำน้ำพุดนตรีมาใช้กับงานทางสถาปัตยกรรมนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของตัวสถาปัตยกรรมนั้นๆด้วย เพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างตัวสถาปัตยกรรมกับน้ำพุดนตรี หากไม่ระมัดระวังในจุดนี้ งานที่สร้างสรรค์เพื่อความงามอาจกลายเป็นทัศนะอุจารได้ในพริบตา

3. องค์ประกอบของน้ำพุดนตรี

การทำน้ำพุดนตรีจำเป็นที่จะต้องมี สระน้ำ, บั๊ม, หัวน้ำพุ, ระบบไฟ, ระบบเสียง, การควบคุม

สระน้ำ จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับความต้องการ แต่มันมีบางที่ในสระที่การควบคุมไปถึงได้ ถ้าสระมีรูปร่างเป็นแนวโค้ง สามารถวางแผนการควบคุมลงในสระได้เลยหรือวางไว้บริเวณข้างๆน้ำพุ

ปั๊ม การวางปั๊มหนึ่งต่อหัวน้ำพุหนึ่งหัวเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมาก สำหรับงานน้ำพุดนตรีนิยมใช้ปั๊มเดี่ยว(240v ac) สามารถรวมท่อเข้าไว้ด้วยกันได้มามันจะทำให้เกิดฟองหมุนรอบตัว แต่มีข้อแม้ว่าปั๊มจะทำต่อหัวน้ำพุหัวที่อยู่ใกล้ปั๊มจึงต้อง พิจารณาถึงข้อนี้ด้วย

ระบบไฟ มีวิธีมากมายที่วางไฟสำหรับน้ำพุไว้ในน้ำที่มีระดับต่ำ มีการเผยแพร่วิธีการมากมายที่จะสามารถนำมาใช้ได้ เช่นการนำไฟสีหนึ่งแสงไว้ใกล้ๆหัวน้ำพุหนึ่งหัว มันจะปรากฎแสงที่หัวน้ำพุนั้น5-6แสง ระบบเสียง มีการติดตั้งลำโพงเล็กๆไว้รอบๆข้างขอบสระ

การควบคุม ใช้โปรมแกรม ACCESS DMX dimmers ผ่าน interfaceสามารถวางระบบได้โดยสร้างช่องวางที่ขอบสระหรือ สร้างห้องควบคุมสามารถเปลื่ยนลำดับเวลาการปิด/เปิดน้ำพุได้ โดยไม่ต้องไปอยู่ใกล้ๆน้ำพุมันจะทำการปิด/เปิดเอง

3.1การเลือกใช้หัวน้ำพุ

การเลือกใช้หัวน้ำพุชนิดใดนั้นต้องพิจารณาจาก บ่อ สระ หรือภาชนะ ให้มีความสัมพันธ์กันคือ

ขนาดของบ่อ หรือสระ หรือภาชนะต้องพอเหมาะพอดีกับสระน้ำที่พุ่งออกมาจากหัวน้ำพุ

สิ่งที่ทำให้น้ำพุมีความแตกต่างกันในด้านความสวยงาม แปลกตาน่าสนใจ นั่นคือ หัวน้ำพุ ซึ่งอาจพุ่งขึ้นเป็นลำ หรือเป็นฝอย หัวน้ำพุมีการพัฒนารูปแบบให้งดงาม อาจพุ่งออกจากจุดศูนย์กลาง เป็นช่อเป็นชั้นลดหลั่นกัน หรือพุ่งจากรอบบ่อเข้ามาจุดศูนย์กลาง

3.2 รูปแบบหัวน้ำพุที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรดใช้ภาษาคน อิอิ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น